LIMITED : ASURA (อสุรา)

฿ 1,650

Frame: Matte Black / Lens : Gold Mirror
(กรอบสีดำด้านพิมพ์ลายอสุรา / เลนส์ปรอทสีเหลืองทอง)

 

  • เลนส์กว้าง 54 มม.
  • เลนส์สูง 43 มม.
  • หว่างจมูก 20 มม.
  • ขายาว 135 มม.
  • ความกว้างรวม 150 มม.

 

***สินค้าพร้อมเซ็ทกล่อง Hardcase + ถุงผ้าไมโครไฟเบอร์ และ สติ๊กเกอร์ยักษ์คิ้วบ์ รับประกัน 1 ปีจาก Yuckube ***

มีสินค้า

รหัสสินค้า: 1025030000002 หมวดหมู่:

รายละเอียด

ทำไมต้องเป็น “อสุรา” ?
“สุร” ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๒ หมายถึง ผู้กล้าหาญ, นักรบ, พระอาทิตย์, เทวดา สนธิกับ อ (อะ) จึงหมายถึง ผู้ไม่กล้า, ไม่ใช่เทวดา แต่ก็มีบางตำนานได้ให้ความหมายของคำว่า “อสูร” ในอีกรูปแบบนึงเอาไว้เช่นกัน
.
** อาจารย์ประจักษ์ ประภาพิทยากร (๒๕๒๙ หน้า ๑๘๑) กล่าวว่า คำว่า “อสูร” หรือ “อสุรา” แปลว่า “ผู้ไม่ดื่มสุรา, ผู้เห็นโทษของสุรา”
.
เรื่องราวมีอยู่ว่า เดิมอสูรนั้น เป้นพระอินทร์อยู่ในสรวงสวรรค์ มีนิสัยชอบดื่มสุรากับพวกเทวดาอยู่เป็นนิจ ต่อมามีมนุษย์ชื่อ มฆะ กับพวกรวม ๓๓ คน ประกอบกรรมดี ๗ ประการ คือ อุปการะพ่อแม่ เคารพผู้สูงอายุ เจรจาด้วยคำหวาน ไม่พูดให้ร้ายผู้ใด ยินดีในการบริจาค มีสัตย์ และ ระงับโทสะจริต ด้วยกรรมดีดังกล่าว และกรรมดีอื่น ๆ เช่น ทำศาลาพักร้อน บ่อน้ำ ฯลฯ มฆะกับพวก ทั้ง ๓๓ คน จึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มฆะได้เป็นพระอินทร์ (พระอินทร์จึงมีชื่อเรียกว่าท้าวมัฆวาน) เพื่อน ๆ อีก ๓๒ คน ได้เป็นเทวดา เช่น พระมาตุลี (มีหน้าที่ขับรถ) พระเวสสุกรรม (นายช่าง) พระสุริยะ พระพิรุณ เป็นต้น
.
กล่าวถึงพระอินทร์เก่ากับพวกที่ชอบดื่มเหล้า เมื่อรู้ว่ามฆะมานพเกิดเป็นเทวดา ก็จัดสุรามาเลี้ยงดูกันเป็นที่สำราญ พระอินทร์ใหม่กับพวกไม่ยอมดื่ม ปล่อยให้พระอินทร์เก่ากับพวกเมามายจนไม่ได้สติ พระอินทร์ใหม่กับพวกก็จับเหวี่ยงลงจากสวรรค์ ถึงกาลสิ้นบุญไม่ได้เป็นพระอินทร์ กลายเป็น “อสูร” มีถิ่นที่อยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุ พระอินทร์เก่าได้ชื่อว่า “ท้าวเวปจิต” หรือ “ท้าวไพจิตราสูร” หรือ “ท้าวเนวาสิกาสูร” เป็นหัวหน้าของอสูรทั้งหลาย พระอินทร์เก่าและเทวดากลุ่มนี้ เห็นโทษของการดื่มสุรา จึงยกเลิกโดยเด็ดขาด จึงได้ชื่อว่า “อสุรา” หรือ “อสูร” คือ ผู้ไม่ดื่มสุราอีกต่อไป นั่นเอง **
.
สุร ตรงกับภาษาอังกฤษคือคำว่า “spirit” ซึ่ง “spirit” ในที่นี้สามารถแปลความหมายได้ทั้ง วิญญาณ, พระเจ้า (คือไม่มีตัวตนเป็นเนื้อหนังมังสาอย่างมนุษย์) รวมทั้ง spirit ก็ยังสามารถแปลได้อีกอย่างว่า liquor ที่หมายถึง สุรา นั่นเอง
ทางทีมงาน “ยักษ์คิ้วบ์” ได้หยิบยกเรื่องราวของอสุรา ในแง่มุมของการไม่ดื่มสุรามาเป็นคอนเซปต์หลักในการออกแบบ เราเลือกใช้สีหลักของกรอบแว่นเป็นสีดำด้าน และใส่ลวดลายของยักษ์ (อสูร) ที่แสดงถึงความดุดัน พร้อมทั้งเลือกใช้เลนส์สีเหลืองทองซึ่งเป็นสีของสุราชั้นดี
.
สำหรับแว่นรุ่นพิเศษนี้จะมีจำหน่ายเพียง 𝟱𝟬𝟬 ตัวเท่านั้น! โดยทางทีมงาน “ยักษ์คิ้วบ์” จะมอบเงินให้กับโครงการเมาไม่ขับ เป็นจำนวน 100,000 บาท ไม่ว่า “อสุรา” คำนี้จะมีความหมายสำหรับแต่ละคนอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนคิดเหมือนกันก็คือ ไม่อยากให้มีการสูญเสียจากเหตุการณ์ เมาแล้วขับ” อีกต่อไป
——–
เอกสารอ้างอิง
– ประจักษ์ ประภาพิทยากร, เทวดานุกรมในวรรณคดี. กรุงเทพฯ ซ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙.
– พูลหลวง. เทวดาโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓o
– ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. ๒๕๓o.
– เอกสารประกอบวิชาการสอน วิชานาฏศิลป์โขนยักษ์ จัดทำโดย อาจารย์สมภพ เพ็ญจันทร์ ครู (ชำนาญการพิเศษ) วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันพัฒนศิลป์

สินค้าคล้ายกันที่คุณอาจสนใจ

ทั้งหมด 1 รายการ